กระทรวงสาธารณะสุข ห่วงใยสุขภาพประชาชน
MENUบริการ
บริการจัดทำ QR-Code (QR Code Generator)
บริการย่อลิงก์ URL Shorten
บริการย่อลิงก์ URL Shorten (dg.th ระบบย่อลิงก์สำหรับหน่วยงานภาครัฐ) ** ใช้ email ภาครัฐ
eCarde-services
Online service (กรมต่างๆ)
e-Report
e-Information
e-Document
e-Regulation
ICT-Service
จัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวประชาสัมพันธ์
ห้องสมุด
ระบบสารบรรณ
ร้องเรียนร้องทุกข์
ศูนย์รับแจ้งเบาะแสและเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
ลิ้งค์หน่วยงานราชการ
280 งานบริการ
e-Service ของรัฐ
Health Data Center (HDC)
การสาธารณสุขไทย (Thailand Health Profile)
Application กระทรวงสาธารณสุข
e-Journal
ข่าวเพื่อมวลชน (Press Release)Infographic
Facbooe
Twitter
Youtube
Instagram
Tiktok
- เกี่ยวกับ สธ. | บริการ | สำหรับเจ้าหน้าที่ | ติดต่อ | Site map
- COVID-19 Privacy Notice | Website Policy | Privacy Policy | Website Security Policy
สวนกีฬา พนักงานบุคคลากรทางกระทรวงสาธารณสุข
สวนกีฬา
สุขภาพจิตใจดี พนักงานบุคคลากรสาธารณะสุขทางการแพทย์ สุขภาพดีสดชื่น มีคุณธรรมจริยธรรมหลักธรรมะ
☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆
รักสุขภาพกายสุขภาพใจไม่เครียดส่งเสริมให้ออกกำลังกาย
Appcation คุณหมอน่ารัก พยาบาลน่ารัก ฯ บุคคลากรทางกระทรวงสาธารณะสุขน่ารัก
บุคคลากรทางการแพทย์ระดับ อสม"
♧♧♧อสม. อาวุธลับในการยับยั้ง
โรคที่เกิดขึ้น♧♧♧
กลุ่มFacebookบุคคลากรทางการแพทย์ระดับ อสม
คิดดี ก็คือ ไม่คิดให้ตนเองเป็นทุกข์เพราะความคิด พูดดีก็คือ ไม่พูดออกไปแล้วทำให้ตนเองต้องเดือดร้อนในกาลภายหลังต่อมา 🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀 ออกจากมืดมาสว่าง ได้ 😀 "" เพราะ"แค่ความคิดถูก" เปลี่ยนพลิกสถานะการณ์มาทาง ที่แจ่มใสเบาสบายอิสระจากความ บีบคั้นของทุกข์ ได้เพราะใจสว่าง คิดถูก😀
คนที่มีความโกธรน้อย ย่อมมีความทุกข์ที่ใจน้อย
คนที่มีความโกธรมาก
ย่อมมีความทุกข์ร้อนที่ใจมาก
คนที่มีเมตตาน้อย
ย่อมมีความสุขที่ใจน้อย
คนที่มีความเมตตามาก
ย่อมมีความสุขเย็นที่ใจมาก
คนทุกข์ทั้งหลายลำพังเขาก็มีความทุกข์
เพราะประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักอยู่เนื่องๆแล้ว
นี่ถ้าเรายังไปซ้ำเติมให้เขามีทุกข์เพิ่มขึ้นมาอีก ก็จะไม่เหมือนนายนิรยะบาลทหารในเมืองนรกหรือ
#สัตว์ทั้งหลายย่อมเป็นไปตามการกระทำ
จริงค่ะ..สาธุ..สาธุ
คนหยาบไม่เข้าใจธรรมะหรอกค่ะ
ใช่แล้วโยม คนใจหยาบแม้หน้าตาจะดูดี
ก็เข้าใจธรรมะยาก
คนจะตาย ลูกไม่ควรอย่างยิ่งที่จะร้องไห้ให้เห็น ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะออนวอนให้คนป่วยอยู่
ถึงลูกจะไม่อยากให้แม่จากไปก็ตาม ต้องใจแข็ง ต้องอดทน เพื่อไม่ให้แม่เป็นห่วง ให้แกไปเสวยกุศลที่ทำ
และควรชวนแม่คุยชวนหวนละลึกถึงเรื่องบุญ กุศลที่แม่ได้เคยทำ ตั้งแต่ตอนเด็กๆแรกๆ ช่วนคุยเรื่องนี้ไปเรื่อยๆ และบอกแม่ให้มั่นรู้ลมหายใจ เข้าออกบ่อยๆหรือดูท้องพองยุบ บ่อยๆ หรือใช้ใจดูกายไปจนหายหลับ*
ถึงลูกจะไม่อยากให้แม่จากไปก็ตาม ต้องใจแข็ง ต้องอดทน เพื่อไม่ให้แม่เป็นห่วง ให้แกไปเสวยกุศลที่ทำ
และควรชวนแม่คุยชวนหวนละลึกถึงเรื่องบุญ กุศลที่แม่ได้เคยทำ ตั้งแต่ตอนเด็กๆแรกๆ ช่วนคุยเรื่องนี้ไปเรื่อยๆ และบอกแม่ให้มั่นรู้ลมหายใจ เข้าออกบ่อยๆหรือดูท้องพองยุบ บ่อยๆ หรือใช้ใจดูกายไปจนหายหลับ*
นโยบายประชาชนต่างประเทศออกกำลังกายร่วมกับ ข้าราชการฯกระทรวงการต่างประเทศและประชาชนในต่างประเทศ
ธรรมะสายคุณหมอพยาบาลน่ารัก
แพทย์หญิง ประเทศพุทธ
ข่าว
พยาบาลฉาวออกพื้นที่ ยันคนไข้ดีขึ้นแล้ว
...
ผอ.โรงพยาบาลพุทธชินราช เผยย้ายนางพยาบาลฉาวออกนอกพื้นที่ และตั้งกก.สอบวินัย พร้อมขอโทษประชาชนทั้งประเทศ ขณะที่ อาการคนไข้ทั่วไปอาการยังปกติ ไม่เสียชีวิตตามที่ลือกัน...
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 26 ก.ย.2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีเหตุการณ์คลิปพยาบาลทำไม่เหมาะสมกับคนไข้สูงอายุวัย 90 ปี ที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลพุทธชินราช จ.พิษณุโลก นายแพทย์สุชาติ พรเจริญพงษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพุทธชินราช เปิดเผยในงานแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนของ จ.พิษณุโลก ที่โรงแรมเมย์ฟลาวเวอร์ แกรนด์ เลอ พิษณุโลก ว่า ทางโรงพยาบาลต้องขอแสดงความเสียใจและกราบขอโทษกับสังคมถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวานนี้ ซึ่งตนเองไม่ได้อยู่ในพื้นที่เพราะไปร่วมงานศพที่ จ.นครสวรรค์ จึงมอบหมายให้รองผู้อำนวยการดำเนินการแถลงข่าวชี้แจงเหตุการณ์กับสื่อมวลชน
...
ผอ.โรงพยาบาลพุทธชินราช เผยย้ายนางพยาบาลฉาวออกนอกพื้นที่ และตั้งกก.สอบวินัย พร้อมขอโทษประชาชนทั้งประเทศ ขณะที่ อาการคนไข้ทั่วไปอาการยังปกติ ไม่เสียชีวิตตามที่ลือกัน...
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 26 ก.ย.2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีเหตุการณ์คลิปพยาบาลทำไม่เหมาะสมกับคนไข้สูงอายุวัย 90 ปี ที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลพุทธชินราช จ.พิษณุโลก นายแพทย์สุชาติ พรเจริญพงษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพุทธชินราช เปิดเผยในงานแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนของ จ.พิษณุโลก ที่โรงแรมเมย์ฟลาวเวอร์ แกรนด์ เลอ พิษณุโลก ว่า ทางโรงพยาบาลต้องขอแสดงความเสียใจและกราบขอโทษกับสังคมถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวานนี้ ซึ่งตนเองไม่ได้อยู่ในพื้นที่เพราะไปร่วมงานศพที่ จ.นครสวรรค์ จึงมอบหมายให้รองผู้อำนวยการดำเนินการแถลงข่าวชี้แจงเหตุการณ์กับสื่อมวลชน
อสม. อาวุธลับในการยับยั้ง COVID-19
วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์
21 Apr 2020
Life & Culture Health, Spotlights Issue of the Age COVID-19: โรคเปลี่ยนโลกREAD
LATER
วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ เรื่อง
ภาพิมล หล่อตระกูล ภาพประกอบ
เป็นที่ทราบกันดีว่าความสำเร็จในการลดจำนวนผู้ป่วย COVID-19 ในประเทศไทย ผู้มีบทบาทสำคัญคือแพทย์และพยาบาลผู้ทำงานหนักในทุกโรงพยาบาล แต่มีตัวละครสำคัญอีกกลุ่มที่ไม่ค่อยมีคนรู้จัก
เมื่อเร็วๆ นี้ ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ออกมายกย่องประเทศไทยว่า
“สามารถควบคุม COVID-19 ได้ดีกว่าหลายๆ ประเทศ เพราะมีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นกำลังสำคัญประจำอยู่ทุกจังหวัด
“อสม. ถือเป็นด่านหน้าทำงานหนัก ลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน ให้ความรู้เรื่องสาธารณสุข การใช้ยา และการเฝ้าระวังการระบาด COVID-19 หาข่าวผู้มีความเสี่ยง เฝ้าระวัง ติดตาม กักตัวบุคคล และให้ความรู้ประชาชนถึงการป้องกันการติดเชื้อ COVID-19”
ต้องยอมรับว่าการควบคุมโรคในจังหวัดต่างๆ เป็นไปด้วยดี มีการแพร่ระบาดน้อย ตัวเลขลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เพราะรากฐานอันแข็งแกร่งของระบบสาธารณสุขขั้นมูลฐานของไทย โดยมีอาสาสมัครสาธารณสุขเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ
ระบบสาธารณสุขของไทยมีความแข็งแกร่งมาหลายสิบปี ไม่ใช่เพียงความก้าวหน้าทางการแพทย์ หรือจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ แต่เป็นเพราะเครือข่ายของระบบสาธารณสุขมูลฐานฝังตัวอยู่ในชนบทไทยมานานร่วมสี่สิบกว่าปีแล้ว
คนทั่วไป โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยในเมืองอาจจะไม่รู้จักคำว่า อาสาสมัครสาธารณสุข หรือ อสม. ว่าคืออะไร แต่คนเหล่านี้คือตัวเชื่อมโยงให้การป้องกันโรคภัยไข้เจ็บสามารถครอบคลุมผู้ทั้งประเทศได้
อย่าแปลกใจว่าคนเหล่านี้คือชาวบ้านธรรมดา ส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกร
หากระบบการสื่อสารมีโครงข่ายอินเตอร์เน็ตเชื่อมโยงได้ทั่วประเทศ อสม.ก็เปรียบเสมือนโครงข่ายที่เชื่อมโยงการป้องกันโรคของคนทั้งประเทศ
นานมาแล้วที่เราทราบดีว่า การรักษาพยาบาลทั่วโลกมักกระจุกอยู่ตามหัวเมืองใหญ่ ผู้คนในชนบทหรือต่างจังหวัดมักขาดแคลนโรงพยาบาลหรือการรักษาพยาบาล อัตราการเสียชีวิตของชาวบ้านจึงสูงมาก
ต่อมาในเดือนกันยายน 2521 องค์การอนามัยโลกได้จัดให้มีการประชุมว่าด้วยสาธารณสุขมูลฐาน (primary health care) ที่เมืองอัลมา อตา สหพันธรัฐรัสเซีย เพื่อร่วมกันพิจารณาหาวิธีที่จะทำให้บรรลุถึงการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าได้ และประกาศว่า “สาธารณสุขมูลฐานเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเพื่อความยุติธรรมในสังคม และเป็นกุญแจที่จะนำไปสู่เป้าหมายของการมีสุขภาพดีถ้วนหน้า”
สาธารณสุขมูลฐาน คือ การดูแลสุขภาพที่อยู่บนพื้นฐานของการปฎิบัติ โดยใช้เครื่องมือที่ถูกต้องตามหลักการและเป็นที่ยอมรับ ในการดูแลสุขภาพส่วนบุคคล ครอบครัว และชุมชน การจัดการสาธารณสุขมูลฐานต้องอาศัยความร่วมมือจากชุมชนและในทุกขั้นตอนต้องเกิดจากการรับฟังความคิดเห็นของคนในชุมชน
สาธารณสุขมูลฐาน เป็นระบบบริการสาธารณสุขที่เพิ่มเติมหรือเสริมจากระบบบริการสาธารณสุขของรัฐ ซึ่งจัดบริการในระดับตำบล หมู่บ้าน โดยประชาชนและความร่วมมือของชุมชนเอง
อาจจะเรียกได้ว่า “สาธารณสุขมูลฐาน คือการดูแลสุขภาพอนามัยโดยประชาชน เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชน ด้วยการสนับสนุนของรัฐ”
ต้องขอบคุณคุณหมอแห่งกระทรวงสาธารณสุขในสมัยนั้น ผู้ได้วางรากฐานให้กับสาธารณสุขมูลฐานไทยตั้งแต่เมื่อสี่สิบกว่าปีก่อน โดยให้ชาวบ้านได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ไม่ใช่มีเฉพาะหมอหรือพยาบาลเท่านั้น และมีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นกำลังสำคัญ
อสม. คืออาสาสมัครที่ได้รับการฝึกอบรมจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อให้สามารถทำการรักษาพยาบาลได้อย่างง่ายๆ เป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน
การคัดเลือกอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จะคัดเลือกโดยวิธีออกเสียงในที่ประชุม ซึ่งประกอบด้วยกรรมการพัฒนาหมู่บ้าน กลุ่มผู้สื่อข่าวสาธารณสุข และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตำบล แต่จะไม่มีการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการจากทางราชการ เพื่อหลีกเลี่ยงความเข้าใจว่า อสม. เป็นข้าราชการ
อสม. ซึ่งกำเนิดขึ้นจากแนวทางในการใช้การสาธารณสุขมูลฐาน นับเป็นกำลังสำคัญในการดูแลสาธารณสุขของพี่น้องประชาชนทั้งในการป้องกันโรค รักษาพยาบาลเบื้องต้น และติดตามปัญหาสุขภาพ
ผลงานสำคัญในช่วงแรก คือ เมื่อเกิดการระบาดของโรคมาลาเรีย ได้มีการอบรม อสม. ให้เข้าใจโรคร้ายนี้ เพื่อกระจายไปบอกต่อให้กับชาวบ้านในพื้นที่ว่าจะป้องกันโรคได้อย่างไร จนสามารถควบคุมการระบาดของโรคร้ายนี้ได้
หลักการสำคัญ คือ การป้องกันไม่ให้ประชาชนเกิดโรค ก่อนที่จะเป็นโรคแล้วต้องมารักษาพยาบาล
หลังจากนั้นมีการอบรมชาวบ้านในหมู่บ้านให้เป็น อสม. เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ไปทั่วประเทศ อสม. ถือเป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญที่จะคอยส่งข่าวสารจากหน่วยงานของรัฐลงไปในพื้นที่ ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขมีจำนวน อสม. ทั้งสิ้น 1 ล้าน 5 หมื่นคน ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดย อสม. 1 คน จะดูแลประชากรในละแวกใกล้เคียงจำนวน 20 หลังคาเรือน จน อสม. กลายเป็นกำลังหลักของกระทรวงสาธารณสุข
โดยมีภารกิจสำคัญ อาทิ กระตุ้นเตือนให้ประชาชนได้ตระหนักถึงปัญหาโภชนาการที่เกิดขึ้น เช่น โรคขาดสารอาหารในเด็ก 0-5 ขวบ หรือเด็กแรกเกิดมีน้ำหนักต่ำ อนามัยแม่และเด็ก การจัดหาน้ำสะอาด ระบบสุขาภิบาล การคุ้มครองผู้บริโภค อบรมให้ความรู้การวางแผนครอบครัว การป้องกันควบคุมอุบัติเหตุอุบัติภัย ร่วมกันค้นหาผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิต มะเร็ง พร้อมทั้งจัดทำทะเบียนรายชื่อผู้ป่วยเพื่อรับการรักษาหรือส่งต่อ การป้องกันโรคสำคัญ อาทิ โรคไข้เลือดออก โรคพยาธิ โรคเอดส์ และล่าสุด คือ COVID-19
นางจรวย ล่องหลง วัย 58 ปี อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน (อสม.) ชุมชนบ้านหน้าคราม ต.ทุ่งระยะ อ.สวี จ.ชุมพร เล่าให้ฟังว่า ลูกชายป่วยเป็นไข้เลือดออก แต่โชคดีที่รักษาหาย จึงสนใจการดูแลสุขภาพ มาสมัครเป็น อสม. พอเกิด COVID-19 มีวิธีทำงานคือ
“ภายในหมู่บ้าน 180 หลังคาเรือน มี อสม. 22 คน แบ่งกันเฝ้าระวังคนละ 9 หลังคาเรือน คอยสอดส่องดูแล ให้ข้อมูลความรู้กับลูกบ้านในการป้องกันโรค ใครมาจากต่างจังหวัดต้องเก็บข้อมูล คอยดูการกักตัว และมีการประชุมกันตลอดว่าจะรับมือกับผู้ป่วยอย่างไรหากเกิดขึ้น”
ทุกวันนี้มี อสม. ล้านกว่าคนทั่วประเทศคอยดูแลให้ความรู้กับชาวบ้าน และ super spreader ที่หลายคนตื่นตระหนก จากเวทีสนามมวยลุมพินี และจากการปิดกทม. ทำให้คนทำงานแห่กันกลับบ้านต่างจังหวัด รวมทั้งแรงงานจากเกาหลีใต้ที่กลับเมืองไทย โรคร้ายไม่ได้ลุกลามขยายตัวออกไปทั่วประเทศ แต่สามารถควบคุมได้ เพราะเบื้องหลังคือการทำงานหนัก อสม.เหล่านี้
มดงานทำงานกันเงียบๆ แต่สร้างความแข็งแกร่งให้ระบบสาธารณสุขไทยก้าวหน้าและโด่งดังไปทั่วโลก
COVID 19 อสม. วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ ระบบสาธารณสุขไทย โรคระบาด
Print
เรื่อง: วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์สื่อมวลชนอิสระ อดีตรองผู้อำนวยการด้านข่าวและรายการ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส อดีตบรรณาธิการนิตยสารสารคดี ผู้สนใจประเด็นด้านการเมืองภาคประชาชน สิ่งแวดล้อม ชุมชน และการพัฒนา
♧♧♧♧♧♧♧♧♧♧♧♧
|
|